Welcom to new mom blog

ยินดีต้อนรับคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ แชร์ประสบการณ์และหาความรู้เพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

10 วิธี พิชิตเส้นเลือดขอดและบวม

วันนี้ Ouy มีเรื่องที่น่าสนใจมาฝาก คุณแม่มือใหม่ กับการดูแลเรียวขาให้ห่างจากเส้นเลืดขอด ซึ่งต้องมีการดูแลเป็นพิเศษหน่อยคะ เพราะเป็นส่วนที่ต้องรับบทหนักมากที่สุด สำหรับตัวอุ้ยเอง ก่อนตั้งครรภ์ น้ำหนัก 44 ก.ก 40 สัปดาห์ก่อนคลอด น้ำหนัก 59 ก.ก ตอนนี้เหลือแค่ 45 ก.ก แค่เลี้ยงลูกสาว กับงานบ้าน ก็หมดเวลาทำอย่างอื่นแล้ว
  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้ช่วงขาแข็งแรง กล้ามเนื้อกล้ามเนื้อจะได้มีแรงบีบส่งแรงดันเลือดดำ กลับไปฟอกที่ร่างกายส่วนบนได้ตามปกติ ช่วงที่อายุครรภ์มากขึ้น ออกกำลังกายไม่ค่อยสะดวก ขอแนะนำให้ใช้วิธีการเดินในน้ำ แรงต้านของน้ำจะทำให้ออกแรงมากขึ้น แต่ร่างกายไม่หักโหมมากจนเกินไป
  2. ไม่ควรยืนทำงานอยู่กับที่ นิ่งๆ นานๆ เช่น รีดผ้า ทำกับข้าว ฯลฯ พยายามเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เดินไปเดินมา บ้าง นั่งบ้าง ยืนบ้าง ยืดหยุ่นกล้ามเนื้อน่องอยู่ตลอด
  3. คุณแม่ท้องไม่ควรนั่งไขว้ห้างเป็นอันขาด นั่งนานๆ ก็ควรลุกขึ้นเปลี่ยนท่าทางบ้าง
  4. ยกขาขึ้นสูงในระดับเสมอกับลำตัวขณะพักผ่อนในท่าสบายๆ และจะดีมากถ้าสามารถยกขาให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจได้
  5. รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้ขึ้นมากเกินไป ไม่ควรตามใจปาก ให้เน้นพวก ผักและผลไม้ เป็นหลักคะ (ดีสำหรับลูกน้อยมากๆ)
  6. รับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากๆ ป้องกันอาการท้องผูก ซึ่งในช่วงนี้อาจทำให้คุณแม่ท้องเป็นริดสีดวงทวารได้ง่าย (ประสบการณ์เป็นแล้ว ทรมานมากๆเลยคะ)
  7. นอนตะแคงซ้าย หรือ ตะแคงขวา ก็ได้สลับกันไป น้ำหนักจะได้ไม่กดทับเส้นเลือด
  8. สวมผ้ายืดพยุงกล้ามเนื้อที่ขา
  9. อย่ารับประทานอาหารที่เค็มจัด ให้อยู่ในรสชาตกลางๆ เป็นการดีสำหรับคุณแม่ท้องคะ
  10. ให้ใส่รองเท้าที่โปร่งสบาย จะได้ไม่คับแน่นในช่วงเย็น หรือ ช่วงที่ต้อง ยืน เดิน มาตลอดทั้งวัน
ครบ 10 วิธี คุณแม่ท้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้คะ เส้นเลือดขอดจะได้ไม่ถามหา เรียวขาคุณแม่จะยังสวย ใส ปิ๊ง จร้า...ูู^^

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

สารพัด'ปวด'คุณแม่ท้อง

อาการ ปวด สามารถเกิดขึ้นได้สำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกคนนะคะ จะมีแค่ว่า แม่ท้องคนไหนปวดน้อย หรือปวดมากนั้นเอง ซึ่งอาการปวดก็จะมีแบบที่ไม่เป็นอันตรายกับแบบที่เป็นอันตราย แล้วแต่สรีระและฮอร์โมนในร่ายกายของแต่ละคน ช่วงอายุของการตั้งครรภ์ก็มีผล สำหรับอาการ ปวด นี่เหมือนกัน มาดูกันคะ ว่าแม่ท้องเนี้ย ปวด อะไรบ้าง
1. ปวด ศีรษะ เป็นการปวดที่แม่ท้องหลายคนปวดกัน จะมีอาการปวดเกร็ง ปวดดื้อๆ หรืออาจจะปวดร้าวมาที่ต้นคอ สำหรับแม่ท้องที่เป็นไมเกรนอยู่ก่อนแล้ว อาจจะมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตรายสำหรับแม่ท้องเลยละคะ
  • สาเหตุ ก็เกิดจากปริมาณเลือดในร่างกายที่เพิ่มขึ้นเยอะ เลือดส่วนหนึ่งจะถูกส่งไปเลี้ยงลูกน้อย เส้นเลือดที่เป็นท่อจะมีน้ำไหลผ่านเยอะๆ เส้นเลือดก็จะมีการตึงตัว ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะนั้นเอง นอกจากนี้ก็อาจจะเกิดจากการที่แม่ม้องพักผ่อนไม่เพียงพอ ยิ่งอายุครรภ์มากๆ อาการนอนไม่หลับจะเป็นบ่อยมาก พลิกซ้ายพลิกขวาก็ไม่หลับสักที ท้องยิ่งโตจะยิ่งอึดอัด หายใจไม่ค่อยสะดวก เมื่อนอนพักไม่เพียงพอ อาการปวดศีรษะก็ถามหา เหมือนกันคะ
  • วิธีแก้ปวด เมื่อกลางคืนทำให้เรานอนไม่หลับ ก็ควรหาเวลาว่างช่วงกลางวันพักผ่อนด้วย อายุครรภ์มากขึ้น ให้ใช้หมอนรองที่ท้อง ควรนอนตะแคงซ้ายหรือตะแคงขวาสลับกัน อาจจะใช้หมอนหนุนหัวให้สูงๆด้วยก็ได้
2. ปวดหน้าอก ก็คือปวดเต้านม โดยจะมีออาการคัดตึง หรือว่าเจ็บๆ บริเวณเต้านม คล้ายกับช่วงที่มีประจำเดือน
  • สาเหตุ เพราะในการตั้งครรภ์ ร่างกายคุณแม่จะมีการสะสมและสร้างต่อมน้ำนม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับลูกน้อยที่จะเกิดมา จึงทำให้เกิดการคัดตึงอย่างรวดเร็ว
  • วิธีแก้ปวด ก็คือการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นๆประคบไว้ที่เต้านม จะช่วยลดอาการปวดได้คะ
3. ปวดท้องน้อย เป็นการปวดแบบหน่วงๆ คุณแม่บางคนอาจจะปวดถึงอวัยวะเพศได้ จะปวดเหมือนกับช่วงที่ปวดประจำเดือน
  • สาเหตุ เกิดจากการที่มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีเลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมาก ทำให้มดลูกบวม จนเกิดอาการปวดหน่วงๆขึ้นมา จะเกิดในช่วงไตรมาสหลังๆของการตั้งครรภ์ เพราะมดลูกเคลื่อนที่ต่ำลงมา
  • วิธีแก้ปวด หากเกิดอาการปวดท้องน้อยขึ้นมา ก็ให้คุณแม่นั่งพัก หรือว่านอนพัก สังเกตุดูอาการถ้าหากว่าเบาลงก็แปลว่าไม่เป็นอันตรายคะ
4. ปวดขา เป็นการปวดที่เกิดได้สำหรับคุณแม่ท้องทุกคนเลย ยิ่งท้องโตด้วย ยิ่งปวดง่ายมาก เดินนิดเดียวก็ปวดแล้ว เพราะว่าขาต้องรับน้ำหนักตัวคุณแม่ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากการที่ปวดตามกล้ามเนื้อและเส้นเลือด
  • สาเหตุ เกิดจากขาของคุณแม่ที่ต้องรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมาก มดลูกที่ใหญ่ขึ้นจะไปขวางทางเดินของเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลไม่สะดวก ดำโป่งพองขึ้น
  • วิธีแก้ปวด ให้คุณแม่นั่งหรือว่านอนแล้วยกขาสูงกว่าหัวใจ เพื่อช่วยการไหลเวียนของเลือด
5. ปวดริดสีดวง คุณแม่ท้องเกือบจะทุกคนจะมีอาการท้องผูก ถ่ายไม่ค่อยออก เวลาถ่ายก็จะออกแรงเบ่งมากๆ ทำให้เกิดอาการเจ็บๆ ปวดๆ บริเวณทวารหนัก ซึ่งคุณแม่ท้องจะเป็นริดสีดวงได้ง่ายกว่าปกติ
  • สาเหตุ เกิดจากการที่คุณแม่ท้องผูก แล้วเวลาที่เบ่งนั้นเส้นเลือดดำ บริเวณริดสีดวงจะไหลเวียนเลืิอดย้อนกลับ แต่เจอมดลูกขวางไว้ ทำให้เลือดไหลไม่สะดวก เกิดการโป่งพองขึ้นมา และเวลาที่ท้องผูก แรงดันบริเวณทวารหนักจะมากขึ้น เส้นเลือดโป่งพองมากขึ้น ถ้าเส้นริดสีดวงแตก เลือดไหล อาจจะเกิดการตกเลือดได้คะ
  • วิธีแก้ปวด ดูแลตัวเอง เรื่องอาหารการกิน ให้กินจำพวกผลไม้ให้เยอะๆ ในช่วงมื้อเย็นๆ พร้อมกับการดื่มน้ำเยอะๆและทุกๆเช้าหมั่นเข้าห้องน้ำเป็นประจำ เป็นการฝึกให้กล้ามเนื้อหูรูดทำงานทุกวันคะ
6. ปวดที่หน้าอกหรอที่ลิ้นปี่ จะมีอาการปวดแบบว่า แน่นๆ จุกเสียด เกิดจากหลังที่กินอาหารอิ่มใหม่ๆ
  • สาเหตุ เกิดจากการที่ร่างกายคุณแม่ย่อยอาหารไม่ทัน ฮอร์โมนจากการที่ตั้งครรภ์นี้ ทำให้เกิดการบีบตัวของทางเดินอาหารช้าลงกว่าคนปกติ จึงเกิดอาการเหมือนจุกแน่นขึ้นมา
  • วิธีแก้ปวด เวลาที่คุณแม่กินอาหารแต่ละครั้ง ให้กินอาหารที่ย่อยง่ายๆและกินครั้งละน้อยๆแต่ให้กินบ่อยๆ เพื่อช่วยกระเพาะอาหารย่อยได้เร็วขึ้น
7. ปวดเมื่อยตัวช่วงใกล้คลอด
  • สาเหตุ เกิดจากการบวมน้ำ เพราะธรรมชาติมีการเอาน้ำมาสะสมไว้ในเซลล์ต่างๆช่วงใกล้คลอด เพราะคุณแม่จะเสียเลือดเยอะมาก ปริมาณน้ำเลือดจะลดลง ความดันโลหิดจะตก จะเกิดอันตรายได้ ธรรมชาติจึงเอาน้ำไปซ่อนไว้ในเซลล์ที่อยู่รอบๆเส้นเลือด คุณแม่ไม่ต้องตกใจว่าทำไมถึงบวมขึ้น หลังคลอดแล้วร่างกายจะขับออกไปค่ะ
  • วิธีแก้ปวด เอามือจุ่มน้ำอุ่นๆ 5- 10 นาที หรือว่ายกเท้าให้สูงๆจะลดอาการบวมลงได้
8. การปวดที่ไม่มีสาเหตุ อาจจะเกิดจากการนอน การเดิน การยืน ที่ผิดท่า ให้คุณแม่พักผ่อนให้เยอะๆ ทำจิตใจให้สบาย อาการเหล่านี้จะหายไปเองคะ

วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

เมื่อ...น้องเอ่เอ้...ฟันขึ้น

ตอนนี้น้องเอ่เอ้อายุ 6 เดือนกะ 23 วัน จับที่เหงือกจะสัมผัสได้ว่าฟันซี่แรกของลูกน้อยขึ้นมาแล้ว น่าตื่นเต้นดีจัง ฟันล่างขึ้นมา 2 ซี่ ฟันบน 1 ซี่ พร้อมๆกันเลย ทำให้ช่วงนี้น้องเริ่มมีอาการหงุดหงิดง่าย น้ำลายไหลตลอดทั้งวัน เห็นอะไรที่ใกล้มือจะหยิบเอาใส่ปากหมด ต้องคอยระวังเป็นพิเศษเลย เรื่องหยิบของเข้าปากเนี้ย แล้วในช่วงกลางคืน น้องจะนอนหลับไม่สนิท รู้สึกตัวตลอด แต่ก็มีวิธีช่วยคลายอาการเหล่านี้นะคะ คือ หายางกัด สำหรับเด็กโดยเฉพาะ เอาไว้ให้ลูกน้อยกัดเวลาที่หมั่นเขี้ยว สามารถเอาไปแช่ในตู้เย็นให้เย็นๆ แล้วเอามาให้ลูกน้อยกัดเล่นจะช่วยคลายอาการปวดเหงือกได้ แล้วต้องให้ลูกน้อยกินน้ำเยอะๆเพื่อทดแทนส่วนที่เสียไป ก็คือ น้ำลายที่ไหลออกนั้นเอง ช่วงที่น้องเริ่มหงุดหงิด ก็หากิจกรรมสนุกๆมาเล่นกะเค้า เช่น ร้องเพลง จับเค้าเต้นไป มา โยกซ้าย โยกขวา ช่วยให้น้องอารมณ์ดีได้ ในช่วงกลางคืนที่ลูกน้อยนอนหลับไม่สนิทก็จะนอนกอดเค้า เค้าจะรู้สึกอบอุ่น หลับสนิทได้คะ คุณแม่มือใหม่สามารถนำไปใช้ได้นะคะ
สำหรับคุณแม่ท่านใดที่ลูกน้อยครบ 6 เดือนแล้วฟันยังไม่ขึ้นไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะฟันซี่แรกจะขึ้นในช่วง 8 ถึง 9 เดือน ถือว่าปกติอยู่ การที่ลูกน้อยฟันขึ้นช้า อาจจะเกิดจากการที่ร่างกายลูกขาดสารอาหารประการหนึ่งแล้ว แต่ก็อาจจะเป็นเพราะสาเหตุอื่นๆด้วย แต่หลัง 9 เดือนไปแล้ว ฟันลูกน้อยยังไม่ขึ้นเลย ต้องพาลูกน้อยไปหาหมอฟันแล้วละคะ

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

ลูกดี...เลือกได้ ! ปาฏิหาริย์แห่งรักจากพ่อแม่

ดร.สนอง วรอุไร อธิบายเรื่อง การเลือกลูกในแบบที่ต้องการ ไว้ในหนังสือ "ทำชีวิตให้ได้ดีและมีสุข" ว่า อยากได้ลูกประเภทไหน พ่อแม่สามารถเลือกได้ ด้วยการตั้งจิตอธิฐาน กำหนดสเป็คเอาไว้ให้ชัดเจนว่าจะต้อนรับดวงจิตแบบไหน ให้มาเกิดเป็นลูกในท้อง หากไม่ตั้งสเป็คไว้ว่าอยากได้ลูกอย่างไร มีโอกาสสูงว่าจะได้ลูกเวรลูกกรรมมาเกิดเพื่อจองล้างจองผลาญพ่อแม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสงสารที่สุด เพราะลูกใครใครก็รัก แม้ว่าจะเป็นลูกเวรลูกกรรม พ่อแม่ยังต้องทนรัก นี่เป็นเพราะว่าก่อนมีลูกไม่ตั้งสเป็คไม่อธิฐานจิตไว้ให้ดี
ดังนั้นก่อนจะมีลูกต้องตั้งสติให้รอบคอบ อธิฐานจิตขอให้ได้ลูกที่ดี คือ หนึ่ง ขอให้ได้ดวงจิตที่ดี มีสัมมาทิฏฐิ มีศีลมาเกิด และสอง ถ้าให้ดีขอให้มีสวรรคสมบัติ มีบริวารมาด้วย หากเราหลับหูหลับตาไม่สนใจ ปล่อยให้ใครมาเกิดก็ได้ อาจได้ลูกที่มาจากอบายภูมิได้สัตว์นรกที่เพิ่งหมดเวรในนรกมาเกิด ในที่สุดอาจจบลงตามนิสัยเดิมด้วยการฆ่าพ่อฆ่าแม่ ได้ลูกเปรตมาเกิด เช้าขอ เย็นขอ รีดไถจน พ่อแม่หนี้สินท่วมหัว ได้สัตว์เดรัจฉานมาเกิด จะดื้อด้าน พูดกันดีๆไม่รู้เรื่อง ต้องเฆี่ยนตี ต้องตะคอก ดังนั้นจึงควรตั้งสเป็คไว้ก่อนมีบุตร
ในทัศนะของ ดร.สนอง การตั้งสเป็คลูกมิได้หมายความถึง การกำหนดรูปร่างหน้าตาหรือองค์ประกอบภายนอก หากหมายถึงสเป็ค "ภายใน"ที่จะเป็นปัจจัยให้ลูกมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อันเป็นเงื่อนไขที่สำคัญยิ่งกว่า สำหรับการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพในอนาคต


ขอขอบคุณนิตยสาร ซีเคร็ต สำหรับเนื้อหาที่น่าสนใจสำหรับคุณแม่มือใหม่คะ

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

การปฏิบัติตนของมารดาในระยะหลังคลอด

  • ความสำคัญของระยะหลังคลอด ระยะหลังคลอด เป็นระยะปรับตัวของมารดาทั้งด้านจิตใจและร่างกาย ทางจิตใจนั้นต้องปรับสภาพชีวิต ให้เป็นทั้งมารดาของชีวิตใหม่และเป็นภรรยาที่ดีของสามี ในทางร่างกายธรรมชาติจะปรับสภาพของอวัยวะต่างๆ ให้กลับสู่สภาพปกติ ดังนั้นการปฏิบัติตนหลังคลอดที่ถูกต้องจะทำให้สุขภาพของมารดามีความสมบูรณ์ทั้งจิตใจและร่างกายทั้งในระยะนี้และในอนาคตภายหน้าเมื่อสูงวัยขึ้น
  • การรักษาสุขภาพจิต สามี ควรเอาใจใส่ ให้กำลังใจ แสดงความเอื้ออาทรต่อทุกข์สุข ช่วยประกอบกิจวัตรประจำวัน และดูแลช่วยเหลือในการเลี้ยงลูก เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพจิตของมารดาหลังคลอด ช่วยคลายความเครียดและความกังวลในการปรับตนเองเพื่อ พร้อมสำหรับ "ความเป็นมารดา"และ"ความเป็นภรรยา"
  • อาหาร ควรได้อาหารจำพวกโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต มากกว่าระยะตั้งครรภ์ เพื่อความสมบูรณ์ในการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ ไม่ควรงดอาหารโดยเด็ดขาด และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกฮอร์ทุกชนิด เช่น สุรา เบียร์ หรือ ยาดองเหล้า
  • กิจวัตรประจำวัน อาบน้ำ สระผมได้ตามปกติที่เคยปฏิบัติ ไม่ควรอยู่ในสถานที่อับ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ควรบริหารร่างกายบ้างเพื่อให้กระปรี้กระเปร่าสดชื่นอยู่เสมอ
  • การดูแลน้ำคาวปลาและฝีเย็บ ในระยะแรกน้ำคาวปลาจะเป้นสีแดง และลดปริมาณลงเรื่อยๆเป็นสีชมพู่และจางเป็นน้ำสีเหลืองๆ ภายใน 2-3 สัปดาห์ ควรใช้ผ้าอนามัยที่สะอาดรองรับน้ำคาวปลา และเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ ในระยะแรกๆแผลฝีเย็บควรล้างด้วยน้ำอุ่น/น้ำสบู่ให้สะอาดแล้วซับให้แห้ง ถ้าปวดแผลมากและแผลบวมแดง กดเจ็บ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดการอักเสบของแผลฝีเย็บ
  • การออกกำลังกาย ควรกระทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน และต่อเนื่องตลอดไป (สามีควรให้การช่วยเหลือ+ให้กำลังใจ) โดย เมื่อสามารถช่วยตนเองได้คล่องแล้ว ควรบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ลดไขมันสะสมที่หน้าท้อง สำหรับการผ่าคลอดไม่ควรบริหารก่อนเพราะจะมีผลต่อแผลที่ผ่าคลอด วิธีการบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง นอนราบกับพื้นแล้วค่อยๆยกแขนทั้งสองข้าง ยกศีรษะและลำตัวขึ้น พยายามจรดปลายนิ้วมือให้แตะกับปลายนิ้วเท้า บริหารครั้งละ 30-50 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน โดยเริ่มจาก 10-20 ครั้งในระยะแรกแล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นเมื่อหายเจ็บแผลฝีเย็บ ควรบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดและฝีเย็บ ด้วยการขมิบทวารวันละหลายๆครั้งปรมาณ 50 ครั้ง
  • การร่วมเพศ มารดาหลังคลอดทุกคนสามารถร่วมเพศได้ เมื่อน้ำคาวปลาหมดและไม่เจ็บแผลฝีเย็บ แต่ไม่ควรก่อนตรวจหลังคลอด เมื่อครบ 6 สัปดาห์ และควรคุมกำเนิดทุกครั้ง เพราะไข่อาจจะตกและเกิดการปฏิสนธิได้โดยที่ยังไม่มีระดู วิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมในระยะนี้ก็คือการใช้ถุงยางอนามัย
  • การตรวจหลังคลอด มารดาทุกคนควรได้รับการตรวจฟัน ตรวจร่างกายและตรวจภายใน คือการตรวจช่องคลอด ปากมดลูก และรังไข่ และรับการคุมกำเนิด เมื่อครบเวลา 6 สัปดาห์ หลังคลอด ที่โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุข

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

ภาวะปกติที่ควรรู้ในทารกแรกเกิด

เป็นสิ่งที่คุณแม่มือใหม่จะต้องเรียนรู้ว่าภาวะใดที่ถือว่าปกติของทารกแรกเกิดและถือปฏิบัติจะเรียกว่าพื้นฐานก็ได้คะ


  • การสะดุ้งหรอผวา เวลามีเสียงดัง หรือเวลาสัมผัส แสดงถึงระบบประสาทที่ปกติ จะพบได้ในทารกที่นอนหลับสนิท และจะสะดุ้งหรอผวาจนอายุครบ 6 เดือน

  • การบิดตัว ทารกที่คลอดตามกำหนด จะมีการเคลื่อนไหวเวลานอนคล้ายผู้ใหญ่บิดขี้เกียจ ทารกจะยกแขนเหนือศีรษะ งอเข่า และบิดตัว พบได้ในทารกที่ปกติ

  • การสะอึก เกิดจากทารกดูดนมมาก และเร็ว ทำให้ กระเพาะอาหารขยายใหญ่ ดันกระบังลม ทำให้สะอึก วิธีแก้ไขก็คือให้อุ้มไล่ลมในท่านั่ง หรือว่าอุ้มพาดบ่า นาน 5 - 10 นาที

  • การแหวะนม ทารกแรกเกิด หูรูดกระเพาะอาหารยังทำงานได้ไม่ดี เมื่อดูดนมและดูดกลืนอากาศเข้าไป ทำให้แหวะนมหลังให้นม วิธีแก้ ก็ให้ไล่ลมบ่อย ระหว่างให้นมลูก โดยการอุ้มให้นั่งหรืออุ้มพาดบ่าหลังให้นม หรือว่าให้นอนศีรษะสูงเล็กน้อยและนอนตะแคงขวานาน ประมาณครึ่งชั่วโมง

  • ผิวหลังลอก จะเกิดขึ้นหลังจากอายุ 1-2 วัน จะหายไปราว 2-3 วัน โดยไม่ต้องทำการรักษาใดๆ

  • ลิ้นขาว ให้คุณแม่ใช้ผ้าอ้อมชุบน้ำต้มสุก พันที่นิ้วก้อยให้แน่น เช็ดที่ลิ้นทารกวันละครั้ง

  • มีมูกหรือว่าเลือดออกทางช่องคลอด จะออกใน 3-5 วันหลังจากคลอดและจะหายไปภายใน 2 สัปดาห์ เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนจากแม่ ที่ผ่านไปยังทารกเมื่ออยู่ในครรภ์นั้นเอง

  • ผื่นผ้าอ้อม ผิวหนังจะมีสีแดงหรือตุ่มหนองเล็กๆ เกิดจากการระคายเคือง จากสิ่งของที่มาสัมผัส เช่น ความชื้นจาการสัมผัสปัสสาวะ อุจจาระนานเกินไป หรือการคั่งค้างของน้ำยาซักผ้าอ้อม การป้องกัน ดูแลให้ผิวหนังแห้ง อย่าปล่อยให้แช่ปัสสาวะ อุจจาระนานเกินไป ล้างแล้วเช็ดให้แห้ง และเปลี่ยนผ้าอ้อมทันที

  • การมีจุดขนาดเล็กสีขาวนวล บริเวณจมูก ริมฝีปากและแก้มจะหายไปเองหลังคลอด 1-2 สัปดาห์

  • การถ่ายอุจจาระบ่อย ทารกแรกเกิดที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว จะถ่ายอุจจาระบ่อย กระปริดกระปรอย อาจจะถ่ายอุจจาระได้ถึงวันละ10-20 ครั้ง เพราะน้ำนมแม่ ย่อยง่ายและมีน้ำเหลืองเจือปน ซึ่งจะช่วยระบายท้อง

  • การไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน ภายหลังคลอด 4 สัปดาห์ น้ำนมแม่จะเป็นน้ำนมแท้ ไม่มีน้ำนมเหลืองเจือปน เนื่องจากน้ำนมแม่ย่อยง่าย ทำให้เหลือกากน้อย ทารกที่ดูดนมแม่อาจจะไม่ถ่ายทุกวัน

  • ท้องผูก หมายถึงการถ่ายอุจจาระเป็นก้อนแข็งทั้งกอง อาการท้องผูกพบบ่อยในทารกที่เลี้ยงด้วยนมผสม และชงนมไม่ถูกส่วน อาจจะจางหรือข้นไป หรือทำให้ไม่เหมาะสมกับวัย เช่นให้นมสำหรับเด็กโตแก่ทารก

หากลูกน้อยมีอาการต่อไปนี้ควรนำไปพบแพทย์ คือ อาเจียนทุกครั้งหลังกินนม ท้องอืดมาก ไข้สูง ท้องเสียบ่อย ซึม ดูดนมน้อยลง ซีด ชักเกร็ง ตัวเหลือง ตาเหลือง สะดืออักเสบบวมแดง มีหนองออกจากโคนสะดือ

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

การดูแลทารกแรกเกิด



เห็นมือน้อยๆเท้าน้อยๆ ของลูก คุณแม่อาจจะน้ำตาไหลด้วยความดีใจ จากการรอคอยที่แสนจะยาวนาน เมื่อไหร่แม่จะได้เห็นหน้าลูกน้อย ยิ่งเป็นคุณแม่มือใหม่ด้วยแล้ว จะยิ่งทำอะไรไม่ถูก ได้ยินเสียงลูกร้องจ้ามากๆ หัวใจอาจจะหล่นไปที่ตาตุ้มก็ได้ อุ้ยแรกๆก็มียายมาช่วยดู แรกๆทำอะไรไม่ถูกเลย เหมือนกัน กลัวทำให้ลูกเจ็บ มาดูพื้นฐานการดูแลทารกแรกเกิดกันคะ
  • อาหาร : ควรให้ลูกน้อยกินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยสุด 6 เดือน ยกเว้นกรณีที่มีข้อห้ามทางการแพทย์ ยิ่งช่วงหลังคลอดใหม่ๆควรจะให้ลูกน้อยได้ดูดนมเลย เป็นการเร่ง ให้เต้านม ผลิตน้ำนม นั้นเอง
  • การอาบน้ำ : อาบด้วยนน้ำอุ่นนะคะ วันละ 3 ครั้ง เช้า เที่ยง เย็น และควรสระผมวันละครั้ง ไม่ควรอาบน้ำทันทีหลังลูกน้อยกินนมเพิ่งเสร็จใหม่ๆคะ ทำให้ให้ลูกน้อยแหวะนมได้
  • การขับถ่าย : ทารกที่กินนมแม่จะถ่ายบ่อย มีสีเหลือง จะมีเม็ดเล็กๆคล้ายเม็ดมะเขือ ปะปนอยู่ด้วย เพราะนมแม่ย่อยง่าย ช่วยระบายท้อง หลังถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ให้เปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง ทำความสะอาดก้น เช็ดด้วยสำลีชุบน้ำอุ่น การเช็ดให้เช็ดจากบนลงล่าง ห้ามเช็ดกลับไปกลับมานะคะ
  • การดูแลสะดือทารก : สะดือจะหลุดภายใน 7-14 วัน ดูแลให้โคนสะดือ และสะดือ แห้งเสมอ เช็ดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ วันละ 3 ครั้ง เมื่อสะดือใกล้จะหลุดจะมีเลือดออกมาด้วย ไม่ต้องตกใจนะคะ ห้ามใช้แป้งและยาโรยสะดือ
  • การทำความสะอาดเสื้อ ผ้าอ้อม : ซักด้วยสบู่เด็กหรือน้ำยาซักผ้าเด็ก ควรแยกซักจากของผู้ใหญ่